Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ทำไม นิทาน จึงชอบขึ้นต้นด้วย "กาลครั้งหนึ่ง ณ..."


Senior Member

Status: Offline
Posts: 379
Date:
ทำไม นิทาน จึงชอบขึ้นต้นด้วย "กาลครั้งหนึ่ง ณ..."
Permalink   


ทำไม นิทาน จึงชอบขึ้นต้นด้วย "กาลครั้งหนึ่ง ณ..."



__________________


Senior Member

Status: Offline
Posts: 379
Date:
Permalink   

 ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี (ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) ได้กล่าวไว้ในบทความ "สุวรรณภูมิ" ในนิทานนานาชาติ (บทความนี้เรียบเรียงขึ้นใหม่จากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารอักษรศาสตร์ศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (2531) เนื่องจากได้พบข้อมูลเพิ่มเติม) ในวารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 5 (มีนาคม 2547) ความว่า..

        กาลครั้งหนึ่ง ณ...

        เกือบจะเป็นรูปแบบของนิทานไปแล้วว่าจะต้องขึ้นต้นด้วยฉากที่บอกเวลาและสถานที่ เช่น "กาลครั้งหนึ่ง ณ กรุงพาราณสี..." "ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองตักกสิลา..." เวลาที่บอกนั้น ไม่เจาะจงว่านานมาแล้วเพียงใดหรืออยู่ในสมัยใด เพียงแต่บอกให้รู้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดไกลตัว ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ฟังหรือแม้แต่ผู้เล่ามีโอกาสได้ประสบมาเอง

        ลักษณะนี้เป็นสากลเพราะอาจพบได้ในนิทานเกือบทุกชาติ ในนิทานตะวันตกใช้วลีว่า "Once upon a time..." และในนิทานอินเดียใช้คำว่า "กทาจิตฺ" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน

        นิทานชาดกซึ่งถือว่ามาจากอินเดียเช่นกันก็ใช้ฉากบอกเวลาที่ไม่เจาะจง เช่น "อตีเต กาเล..." (ในเวลาอดีต) แม้ในอรรถกถาจะแบ่งให้เจาะจงลงไปว่าเป็นเรื่องดั้งเดิมในกาลไกล (ทูเรนิทาน) เรื่องดั้งเดิมในกาลไม่ไกล (อวิทูเรนิทาน) หรือเรื่องระหว่างพุทธกาล (สันติเกนิทาน) ก็ยังนับว่าทุกเรื่อง "ไกล" จากยุคสมัยของผู้เล่าและผู้ฟังนิทานอยู่ดี

        ฉากที่บอกสถานที่นั้นก็เช่นกัน มักเป็นเมืองที่อยู่ไกล ยิ่งไกลเท่าใดความตื่นเต้นแปลกใหม่ก็มีสิทธิ์อยู่ในนิทานได้มากเท่านั้น เพราะไม่มีใครค้านว่า "ไปดูมาแล้วไม่มีสักหน่อย" หรืออะไรทำนองนั้น ในนิทานไทยจึงมักไม่มีฉากเมืองกาญจนบุรี ลพบุรี เป็นต้น เว้นแต่จะเป็นนิทานแสดงตำนานของสถานที่นั้นๆ

        ฉากในนิทานอาจเป็นเมืองสมมุติหรือเมืองต่างแดนไกลโพ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยสร้างเรื่องในจินตนาการที่ไกลตัวได้เช่นเดียวกับฉากเวลาที่กล่าวแล้ว

        ฉากเมืองสมมุติอาจเป็นชื่อเมืองที่มิได้มีความหมายเอื้อต่อเรื่องเท่าใดนัก เช่น เมืองอาวหะนคร (จากเรื่องท้าวเอฬราชในนนทุกปกรณัม) ผู้ฟังนิทานแทบจะไม่จดจำว่าเรื่องเกิดขึ้นที่เมืองใด ผู้เล่าก็เช่นกัน เมื่อเล่าครั้งต่อไปอาจเปลี่ยนฉากเป็นเมืองอื่นเสียก็ได้

        นอกจากฉากเมืองสมมุติแล้ว เมืองต่างแดนก็เป็นที่นิยมในนิทาน ตัวอย่างเช่น พระเจ้าพรหมทัตครองกรุงพาราณสี (ในนิทานชาดกหลายๆ เรื่อง) พระไชยสุริยาครองกรุงสาวัตถี (ในกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่) นางเกศนีมารดาของยอพระกลิ่นเป็นธิดาเจ้าเมืองปาตลี (ในเรื่องมณีพิชัย) พระเจ้าเสนากุฏบิดาของสังข์ศิลป์ชัยครองกรุงปัญจาล (ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย) โอรสพระเจ้ากรุงมัทราสเดินทางไปศึกษาศิลปศาสตร์ที่กรุงตักกศิลา (ในเรื่องนนทุกปกรณัม) เหล่าพราหมณ์จากเมืองกลิงคราษฎร์มาทูลขอช้างปัจจัยนาคจากพระเวสสันดร (ในเรื่องพระเวสสันดร)

        เมืองต่างๆ เช่น พาราณสี สาวัตถี ปาตลี (ปาฏลีบุตร) ปัญจาล มัทราส ตักกศิลา (ตักกสิลา, ตักษศิลา) กลิงคราษฎร์ ที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ล้วนเป็นเมืองในชมพูทวีป ซึ่งน่าจะเป็นเพราะนิทานเหล่านั้นมีที่มาจากนิทานอินเดีย หรือไม่ก็แต่งเลียนแบบนิทานอินเดีย

        แต่อีกเหตุหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้เล่านิทานต้องการสร้างเรื่องให้เกิดขึ้นไกลตัวผู้ฟัง เพื่อให้ผู้เล่าและผู้ฟังสามารถสร้างจินตนาการได้กว้างไกลกว่าที่ประสบอยู่ในชีวิตจริง

        นิทานอินเดียหลายเรื่องมีลักษณะเช่นว่านี้ แม้จะเป็นฉากสถานที่ที่อยู่ในชมพูทวีปนั่นเอง แต่ก็อยู่ในทิศทางที่ห่างไกลจากตัวผู้เล่ามาก

        จากการศึกษาเปรียบเทียบนิทานสันสกฤตเรื่องปัญจตันตระ มีข้อสังเกตว่า สำนวนถิ่นเหนือเช่นที่ปรากฏในพฤหัตกถา ของคุณาฒยะ ใช้ฉากเมืองมหิลาโรปยะ (เป็นเมืองที่อยู่ในอินเดียตอนใต้ ริมฝั่งตะวันออก ใกล้เมืองมัทราส)

        ส่วนสำนวนถิ่นใต้ เช่น ตันโตรปาขยาน ของวสุภาค และหิโตปเทศ ของนารายณะ ใช้ฉากเมืองปาฏลีบุตร (เป็นเมืองที่อยู่ในอินเดียตอนเหนือ)

        ประเด็นนี้สอดคล้องกับข้อสังเกตของแพทริก ออลิเวลล์ ที่ว่า "ในการเล่านิทานเกี่ยวกับเรื่องในอดีตที่ผ่านมานาน มักใช้ฉากท้องเรื่องเป็นแดนไกลที่ไม่เคยพบเห็นมากกว่าจะใช้ถิ่นที่ที่ตนคุ้นเคย เรื่องใดที่ขึ้นต้นว่า "ครั้งหนึ่งในทักษิณาบถ" จึงมักจะออกมาจากปากของผู้เล่าที่อยู่ในถิ่นเหนือ" (Olivelle, 1997 : XIII) ฉากท้องเรื่อง

        ในนิทานจึงมักจะเป็น "เมืองไกลโพ้น" สำหรับผู้เล่าและผู้ฟัง

        ที่มา : http://www.matichon.co.th/art/art.php


__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard