Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: คู่มือตลาดสาธารณรัฐอินเดีย


Senior Member

Status: Offline
Posts: 379
Date:
คู่มือตลาดสาธารณรัฐอินเดีย
Permalink   


 
       การเดินทางเข้าออกประเทศ การขอวีซ่า :  การเดินทางไปยังอินเดีย ผู้เดินทางจะต้องขอวีซ่าเพื่อเดิน  ทางเข้าไปยังอินเดีย ณ สถานทูตอินเดียซึ่งมีที่อยู่ ดังนี้
     เลขที่ 46 ซอยประสานมิตร 23 สุขุมวิท
     กรุงเทพฯ 10110
     โทร.      :  02-258-0300-6
     โทรสาร  :  02-258-4627,262 1740
     อีเมล์    :   indiaemb@mozart.inet.co.th
มาตรฐานที่ใช้น้ำหนักและหน่วยวัด :   ระบบเมตริก
ระบบไฟฟ้า   : A.C.,  3 Phase,  50  Cycles,  220/400  Volts


2.  เศรษฐกิจ
2.1 ลักษณะเศรษฐกิจของอินเดียโดยทั่วไป
เดิมก่อนการปฎิรูปเศรษฐกิจในปี 1991 อินเดียใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม    รัฐบาลจะเข้าไปกำหนดมาตรการและแทรกแซงการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนอย่างเข้มงวด  ทั้งด้านการผลิต  การตลาด  และการลงทุน  ใช้นโยบายควบคุมการนำเข้าสินค้าอย่างเคร่งครัด   ต่อมาเมื่ออินเดียประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง  อินเดียต้องกู้เงินจำนวนมากจาก IMF  (International Monetary Fund ) และจากธนาคารโลก รวมทั้งการใช้มาตรการอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมการนำเข้า เพื่อการประหยัดเงินตราต่างประเทศ   ในขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมการส่งออก  ทำให้อินเดียต้องดำเนินนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ (Economic Reform)  ในปี 1991 (พ.ศ. 2534) เป็นต้นมา   โดยหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดแทน
  ลักษณะทางเศรษฐกิจโดยพื้นฐาน  อินเดียเป็นประเทศกำลังพัฒนาประชากรทั่วไปยังมีความยากจน  อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง  ทั้งการว่างงานตามฤดูกาลและการว่างงานโดยไม่มีงานทำ  รายได้เฉลี่ยต่อหัวค่อนข้างต่ำ  มาตรฐานการครองชีพจึงต่ำไปด้วย   การเกษตรยังเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของอินเดีย
 อย่างไรก็ตาม  ในภูมิภาคเอเชียใต้  อินเดียเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและการตลาดมากที่สุด  รวมทั้งอินเดียพยายามที่จะทำตัวเป็นผู้นำของภูมิภาคด้วย 2.2     นโยบายการนำเข้า
 อินเดียได้ประกาศใช้นโยบายการส่งออก-นำเข้า (Export - Import Policy) ซึ่งจะใช้ระหว่างปี 1997 - 2002 (2540 – 2545) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 เป็นต้นไป  วัตถุประสงค์ของนโยบายมี  ดังนี้
- เพื่อยกระดับให้ประเทศเข้าสู่ตลาดโลกและได้รับประโยชน์ได้มากขึ้น จากโอกาสการขยายตัวของตลาดโลก
- เพื่อจัดหาวัตถุดิบ ทั้งสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ชิ้นส่วนประกอบและสินค้าทุน สำหรับการผลิตภายในประเทศ  เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
- เพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการบริการให้สินค้าที่ผลิตได้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดโลก
- เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสมเหตุสมผลกับราคา


อินเดียเปลี่ยนแปลงนโยบายการนำเข้าใหม่  (ช่วงระหว่างปี 1997-1998) ดังนี้
                    1.  เปิดเสรีสำหรับการนำเข้าสินค้าจำนวน 542 รายการ ที่แต่เดิมอยู่ในรายการ  Restricted Items สำหรับการนำเข้า เปลี่ยนมาเป็นรายการสินค้าที่เปิดให้นำเข้าได้เป็นการทั่วไป      ( Open  General Licence :  OGL) และต้องมีหนังสืออนุญาตนำเข้าพิเศษ  (Special Import Licence : SIL)
        2.  ทำให้ขณะนี้สินค้าประมาณ 150 รายการ นำเข้าได้โดยต้องมีหนังสืออนุญาตพิเศษ (SIL)และสินค้าจำนวน 60 รายการเปลี่ยนจากการนำเข้าที่ต้องมีหนังสืออนุญาตพิเศษ  (SIL) เป็นนำเข้าโดยเสรีและรายการสินค้าร้อยละ 70 ที่เปลี่ยนจากรายการ  Restricted Items  เป็นรายการสินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)  นอกจากนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
                     3.  หนังสืออนุญาตการนำเข้าตามโครงการการนำเข้าสินค้าสำหรับ Free Duty และหนังสืออนุญาตล่วงหน้า (Advance Licence) ได้ขยายอายุหนังสืออนุญาตจาก 12  เดือนเป็น          18   เดือน
                      ต่อมาอินเดียได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายการส่งออก-นำเข้าดังกล่าวมาเป็นลำดับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกและได้ประกาศใช้นโยบายส่งออก-นำเข้าปี 1999-2000  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  2542 (1999)  และนโยบายการส่งออก-นำเข้าปี  2001-2002  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  2544 (2001)  ดังเอกสารประกอบ 1 และ 2
                      นอกจากนั้นอินเดียได้ออกประกาศศุลกากรเมื่อวันที่  1  มกราคม  2001  (เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการส่งออก - นำเข้าที่ได้ประกาศใช้ระหว่างปี  1997 – 2002)   โดยกำหนดมาตร
การสำหรับสินค้านำเข้า  131  รายการ  ( รายละเอียดสินค้าดังเอกสารแนบ)  ที่จะต้องแจ้งปริมาณและน้ำหนักมาตรฐานไว้ที่ภาชนะบรรจุสินค้า  และจะต้องแจ้ง


- ชื่อผู้นำเข้า
- ชื่อทั่วไปของสินค้า
- ปริมาณสุทธิของสินค้าตามมาตรฐานน้ำหนักและหน่วยวัด
- เดือนปี  ที่ผลิตหรือบรรจุหรือนำเข้า
- ราคาขายปลีกสูงสุด  ซึ่งเป็นราคาที่รวมภาษี  ค่าขนส่ง  และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าโฆษณา
- สำหรับสินค้าทั้ง  131  รายการ  จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าของอินเดีย    (Indian Quality Standard)   และผู้ผลิต/ผู้ส่งออกจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ  Bureau of  Indian  Standards  (BIS)  ด้วย
ข้อสังเกต
(2) เป็นนโยบายที่รัฐบาลอินเดียนำมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่อินเดียได้ทำไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) ในการเปิดตลาดของสินค้าที่ให้สามารถนำเข้า
(3) อินเดียได้โดยเสรี     แต่ในรายละเอียดยังมีความซับซ้อนในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า โดยเฉพาะในเรื่องของสินค้าเกษตร
(4) อินเดียยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดของปริมาณการอนุญาตให้นำเข้าตามพันธกรณีที่อินเดียได้ทำไว้กับ WTO
2.3  การลงทุนจากต่างประเทศ
มูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติการลงทุน จำแนกตามประเทศที่สำคัญ  
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศ 1995 1996 1997 1998 1999
สหรัฐอเมริกา 2,138 2,817 3,418 890 841
อังกฤษ 523 427 1,140 800 697
เยอรมัน 406 431 548 213 268
โมริเชียส 548 654 2,638 779 895
ญี่ปุ่น 459 417 479 320 375
เกาหลีใต้ 94 907 494 92 858
มาเลเซีย 414 12 536 450 27
อื่น ๆ  5,118 4,460 5,077 4,146 2,715
รวม 9,700 10,125 14,330 7,690 6,676
หมายเหตุ : การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2000/01 คาดว่ามีมูลค่า 2.34 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มาข้อมูล  :  Indian Investment Center
การลงทุนจากประเทศไทย
          จากข้อมูลของ  Indian Investment Center การร่วมลงทุนของคนไทยในประเทศอินเดียในปี  2541 ปรากฎว่ามีมูลค่า  0.08  ล้านเหรียญสหรัฐ  และเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า  1.65  ล้านเหรียญสหรัฐในปี  2542 
การลงทุนจากประเทศไทยนับแต่ปี  2538  เป็นต้นมาจะมีมูลค่าลดลงตามลำดับจาก  มูลค่า  19,680  ล้านรูปี  ในปี  2538   เป็น  771  ล้านรูปี   และ  259  ล้านรูปี  ในปี  2538  และ2540  ตามลำดับ   จนกระทั่งลดลงเหลือ  3.45  ล้านรูปี  (0.08  ล้านเหรียญสหรัฐ)  ในปี  2541  ซึ่งพิจารณาได้ว่ามีสาเหตุสืบเนื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนับแต่ช่วงกลางปี  2540  เป็นต้นมาทำให้นักลงทุนของไทยต้องชะลอการลงทุนในต่างประเทศ
 2.4   การค้าระหว่างประเทศ
 ปริมาณการค้ากับตลาดโลก
                                                                              หน่วย  :  ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ปี 1997 ปี 1998 ปี 1999 ปี 2000/01
      ปริมาณการค้ารวม 83,081 86,867 81,842 93,970
อินเดียส่งออก 34,133 35,680 34,298 44,330
อินเดียนำเข้า 48,948 51,187 47,544 49,640
ดุลการค้า -14,815 -15,507 -13,246 -5,310
ที่มา :  1)  Reserve Bank of India
2) The Economist Intelligence Unit (Nov. 2001)
   


การค้ากับประเทศไทย
ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับอินเดีย
                                                       หน่วย  :  ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ 2540    2541 2542 2543
  2544 2545   
(ม.ค.- ส.ค.)
ปริมาณการค้ารวม 896.4
(1.5 %) 708.1
(-21.0%) 800.2
(13.0%) 1,192.15
(48.99%) 1,154.09
(2.81%) 764.30
(-1.85%)
ไทยส่งออก 299.7
(23.0%)  284.0
(-5.2 %) 349.8
(23.2%) 569.30
(62.72%) 483.09
(-3.32%) 269.64
(-13.40%)
ไทยนำเข้า 596.7
(-6.7 %) 424.1
(-28.9%) 450.3
(6.2 %) 622.85
(38.31%) 671.00
(7.72%) 494.66
(5.40%)
ดุลการค้า - 297.0(-24.9%) - 140.1
(-52.8%) -100.4
(-28.3%) -53.55
(-46.69%) -187.91
(52.50%) -225.02
(44.26%)
ที่มา   : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์  โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ     : 1.   ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2. ปี  2545 (ม.ค.- ส.ค.) เป็นตัวเลขทางการ
2.5 คณะกรรมการร่วมทางการค้า
ทวิภาคี
                      ภาครัฐบาล
• ความตกลงทางการค้า  เมื่อวันที่  13  ธันวาคม  2511  (1968)
• ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน  เมื่อปี  2528  (1985)
• ข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee :  JTC)  เมื่อวันที่  13  กุมภาพันธ์  2528  (1985)
• ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย  (Thai Indian Joint Commission for Bilateral  Cooperation : JC)  เมื่อวันที่  29  มีนาคม  2532  (1989)
• ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือส่งเสริมการลงทุน  ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย กับ สำนักงานส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของอินเดีย  เมื่อวันที่  7  มกราคม  2540 (1997)
• ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน  เมื่อปี  2543  (2000)


  ภาคเอกชน
• ความตกลงเพื่อความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมไทยกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย  เมื่อปี  2533  (1990)
• ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือและการจัดตั้งสภาธุรกิจร่วม (Joint Business Council : JBC) ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย  เมื่อปี  2533  (1990)
• ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าไทย กับ สภาหอการค้าและ  อุตสาหกรรมอินเดีย  เมื่อวันที่  25  มกราคม  2533  (1980)
พหุภาคี
              ไทยและอินเดียได้ลงนามในความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (4  ประเทศ) ประกอบด้วย  บังกลาเทศ  อินเดีย  ศรีลังกา  และไทย  (BIST-EC)  เมื่อวันที่  6  มิถุนายน  2540  (1997)  และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  (5 ประเทศ) 
ประกอบด้วย  บังกลาเทศ  อินเดีย  พม่า  ศรีลังกา  และไทย  (BIMST-EC)  เมื่อวันที่  22  ธันวาคม  2540  (1997)
3.  คู่แข่งขันทางการค้า
สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญของไทยกับอินเดีย
                      จากสถิติการส่งออกในปี 2544  สินค้าส่งออกของไทยที่ส่งไปยังอินเดียที่สำคัญ  ได้แก่  เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เม็ดพลาสติก,อัญมณีและเครื่องประดับ, เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ, เคมีภัณฑ์, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, สิ่งทออื่นๆ, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกลอื่นๆ, เส้นใยประดิษฐ์, ด้ายเส้นใยประดิษฐ์, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น, เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ,ทองแดงและของทำด้วยทองแดง,เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น
สำหรับการนำเข้าสินค้าจากอินเดีย ไทยได้นำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย   อัญมณี เงินแท่งและทองคำ,  เคมีภัณฑ์,  กากพืชน้ำมัน, เหล็กและเหล็กกล้า, สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ, ผลิตเวชกรรมและเภสัชกรรม, กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง, เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม, หนังดิบและหนังฟอก,เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ไขมันและน้ำมันพืช, ยากำจัดศัตรูพืช,ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก,เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ,ผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น
   ( ดูเพิ่มเติมที่  http://www.ftamonitoring.org/data/Nov02/INDIA.doc  )


ความตกลงการค้าเสรี FTA ไทย-อินเดีย _http://www.thaifta.com/book_in.pdf


 

 

-- Edited by Bollywood2Thai at 16:24, 2005-03-31

__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard