Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ข้อมูลทั่วไป สาธารณรัฐอินเดีย


Senior Member

Status: Offline
Posts: 379
Date:
ข้อมูลทั่วไป สาธารณรัฐอินเดีย
Permalink   


 



สาธารณรัฐอินเดีย
Republic of India


  ข้อมูลทั่วไปที่ตั้งตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทางตะวันออกติดบังคลาเทศ
                         
พื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร (อันดับ 7 ของโลก)

เมืองหลวง กรุงนิวเดลี (New Delhi)

เมืองสำคัญ มุมไบ เป็นศูนย์กลางทางการค้า การเงิน และการคมนาคม เป็นเมืองท่า สำคัญและเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ฮินดีที่ใหญ่ที่สุด บังกาลอร์ เป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ การบินและ อวกาศเจนไน เป็นศูนย์กลางธุรกิจในภาคใต้ของอินเดีย อุตสาหกรรมหลักคืออุตสาหกรรมรถยนต์ กัลกัตตา เป็นเมืองหลวงเก่าของอินเดีย และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2

ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่ตอนเหนืออยู่ในเขตหนาว ขณะที่ตอนใต้อยู่ในเขตร้อน ทางเหนือมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน คือแม่น้ำสินธุและคงคา จึงอุดมสมบูรณ์กว่าตอนใต้ ซึ่งมีแต่แม่น้ำสายสั้นๆ อุณหภูมิเฉลี่ยในที่ราบช่วงฤดูร้อน ประมาณ 35
องศาเซลเซียส และฤดูหนาว ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
ประชากร 1,049,700,118 ล้านคน (2546) (มากเป็นอันดับ 2 ของโลก)

เชื้อชาติ อินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์ ร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 1

ภาษาภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ใช้โดยประชาชนส่วนใหญ่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการและธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีภาษาท้องถิ่นอีกนับร้อยภาษา แต่ที่ใช้กันมากมี 14 ภาษา อาทิ อูรดู เตลูกู เบงกาลี มาราธี ทมิฬ กุจราดี และปัญจาบี

ศาสนา ฮินดู ร้อยละ 81.3 มุสลิมร้อยละ 12 คริสต์ร้อยละ 2.3 ซิกข์ร้อยละ 1.9
อื่น ๆ (พุทธ เชน และนาซิ) ร้อยละ 2.5

หน่วยเงินตรารูปี อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 43.75 รูปี (มิถุนายน 2547)

GDP 505.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 480 ดอลลาร์สหรัฐ (2546)

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 8.10 (2546)

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 109.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มีนาคม 2547)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.91 (มีนาคม 2547)

ดุลการค้าขาดดุล 14.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน 2546-มกราคม 2547)

มูลค่าการส่งออก 47.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน 2546-มกราคม 2547)(เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าร้อยละ 12.83)

มูลค่าการนำเข้า 61.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน 2546-มกราคม 2547)(เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าร้อยละ 24.70)

สินค้าส่งออกอัญมณีและกึ่งอัญมณี ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ เครื่องหนัง

สินค้านำเข้าปิโตรเลียม น้ำมันดิบ อัญมณีและกึ่งอัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เหล็ก และปุ๋ย

ตลาดส่งออกสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง อังกฤษ เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม

ตลาดนำเข้า สหรัฐฯ เบลเยี่ยม จีน อังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย

วันสำคัญ วันชาติ (Republic Day) วันที่ 26 มกราคม
วันเอกราช (Independence Day) วันที่ 15 สิงหาคม

ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

ระบบการปกครอง สาธารณรัฐ (Federal Republic) อำนาจการปกครองแบ่งเป็น 28 รัฐ และสหภาพอาณาเขตของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต แยกศาสนาออกจากการเมือง (secular state)

ประมุขของรัฐ นาย Abdul Kalam ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2545

ประธานสภาสูง นาย Bhairon Singh Shekhawat รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่
(ราชยสภา)ประธานสภาสูงโดยตำแหน่ง (Chairman of Rajya Sabha)เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2545

ประธานสภานาย Somnath Chatterjee (Speaker of Lok Sabha)

ผู้แทนราษฎร (โลกสภา)เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2547

นายกรัฐมนตรี Dr. Manmohan Singh เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 22 พฤษภาคม 2547

รัฐมนตรีต่างประเทศนาย K Natwar Singh เข้ารับตำแหน่งเมื่อพฤษภาคม 2547

รัฐมนตรีคลัง นาย P Chidambaram เข้ารับตำแหน่งเมื่อพฤษภาคม 2547

รัฐมนตรีพาณิชย์ นาย Kamal Nath เข้ารับตำแหน่งเมื่อพฤษภาคม 2547



การเมืองการปกครองการเมืองการปกครอง
- อินเดียเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ของประเทศ
- มีการกระจายอำนาจการปกครองในลักษณะสหพันธรัฐ (Federal System) แบ่งออกเป็น
รัฐต่างๆ 28 รัฐ

อำนาจบริหารส่วนกลาง
- รัฐบาลกลางยังคงอำนาจในเรื่องการป้องกันประเทศ ด้านนโยบายต่างประเทศ การรถไฟ
การบินและการคมนาคมอื่นๆ ด้านการเงิน ด้านกฎหมายอาญา ฯลฯ

ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ ราชยสภา (Rajya Sabha) หรือสภาสูง และ
โลกสภา (Lok Sabha) หรือสภาผู้แทนราษฎร การตรากฎหมายต่างๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาตามรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ราชยสภามีสมาชิก 250 คน ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 245 คน 12 คน จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีทุกๆ 2 ปี อีก 233 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม เป็นผู้แทนของรัฐและ Union Territories
โลกสภามีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
(530 คน มาจากแต่ละรัฐ /13 คน มาจาก Union Territories) และอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศ อยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา

ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี เป็นประมุขของรัฐ และเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหาร (Head of Executive of the
Union) ซึ่งประกอบด้วยรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมจากผู้แทนของทั้ง 2 สภา รวมทั้งสภานิติบัญญัติของแต่ละรัฐ ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวาระที่ 2 ได้ รองประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมจากผู้แทนของทั้ง 2 สภา ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และเป็นประธานราชยสภาโดยตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย รัฐมนตรี (Ministers) รัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (Ministers of State - Independent Charge) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Ministers of State) รับผิดชอบโดยตรงต่อโลกสภา

ฝ่ายตุลาการ อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอิสระ ไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ปกป้องและ
ตีความรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาประจำศาลฎีกา มีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ระดับรัฐ มีศาลสูง (High Court) ของตนเองเป็นศาลสูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็น Subordinate Courts ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

อำนาจบริหารระดับรัฐ
- รัฐธรรมนูญอินเดียแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง (Government of India) และรัฐบาล
มลรัฐ (State Government) อย่างชัดเจน รัฐบาลมลรัฐมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษากฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของมลรัฐ
- โครงสร้างของฝ่ายบริหารในแต่ละรัฐ มีผู้ว่าการรัฐ (Governor) เป็นประมุข ได้รับการแต่งตั้ง
โดยตรงจากประธานาธิบดี รัฐบาลแห่งรัฐ (State Government) ประกอบด้วยมุขมนตรี (Chief Minister) เป็นหัวหน้า และคณะรัฐมนตรีประจำรัฐ (State Ministers) ทั้งนี้ รัฐบาลแห่งรัฐจะมาจากพรรคการเมือง หรือได้รับแต่งตั้งจากสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (Legislative Assembly)
-- Edited by Bollywood2Thai at 12:17, 2005-03-14



-- Edited by Bollywood2Thai at 12:22, 2005-03-14

-- Edited by Bollywood2Thai at 12:45, 2005-03-21

__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard