Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: การเมืองอินเดีย


Senior Member

Status: Offline
Posts: 379
Date:
การเมืองอินเดีย
Permalink   


นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจ /สังคม

1) อนุรักษ์ ปกป้อง และส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม
2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับ 7-8 % อย่างมีเสถียรภาพ
3) ส่งเสริมสวัสดิการและความอยู่ดีกินดีของเกษตรกร และแรงงาน
4) ส่งเสริมบทบาทของสตรี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และกฏหมาย
5) ให้โอกาสอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะการศึกษาและการจ้างงาน แก่ชาวอินเดียวรรณะต่ำและชนกลุ่มน้อย
6) ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของสังคม

ด้านการต่างประเทศ
      รัฐบาลชุดปัจจุบันประกาศว่า จะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ (Independent
Foreign Policy) เน้นผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหลัก ส่งเสริมความเท่าเทียมกันในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และส่งเสริมหลักการ Multi-Polarity
1 ให้ความสำคัญสูงสุดกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด (Neighbourhood Diplomacy) คือ ประเทศสมาชิกของสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asia Association for Regional Cooperation : SAARC) 7 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน เนปาล มัลดีฟส์ ปากีสถาน ศรีลังกา
2 นอกจากประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม SAARC แล้ว ยังให้ความสำคัญกับ อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน และอาเซียน ซึ่งถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดเช่นกัน โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายมองตะวันออก (Look East) อย่างต่อเนื่อง
3 ส่งเสริมความสัมพันธ์กับจีน โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดน
4 กระชับความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้วกับรัสเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการทหารและเทคโนโลยีด้านอวกาศและนิวเคลียร์
5 ขยายความร่วมมือกับสหรัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
6 เพิ่มความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง (West Asia) โดยคำนึงถึงรากฐานความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับอิสราเอลโดยเฉพาะด้านการทหาร





เศรษฐกิจการค้าด้านเศรษฐกิจ /สังคม
1)อนุรักษ์ ปกป้อง และส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม
2)ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับ 7-8 % อย่างมีเสถียรภาพ
3)ส่งเสริมสวัสดิการและความอยู่ดีกินดีของเกษตรกร และแรงงาน
4)ส่งเสริมบทบาทของสตรี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และกฏหมาย
5)ให้โอกาสอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะการศึกษาและการจ้างงาน แก่ชาวอินเดียวรรณะต่ำและชนกลุ่มน้อย
6)ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของสังคม

ด้านการต่างประเทศ
รัฐบาลชุดปัจจุบันประกาศว่า จะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ (Independent
Foreign Policy) เน้นผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหลัก ส่งเสริมความเท่าเทียมกันในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และส่งเสริมหลักการ Multi-Polarity
1 ให้ความสำคัญสูงสุดกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด (Neighbourhood Diplomacy) คือ ประเทศสมาชิกของสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asia Association for Regional Cooperation : SAARC) 7 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน เนปาล มัลดีฟส์ ปากีสถาน ศรีลังกา
2 นอกจากประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม SAARC แล้ว ยังให้ความสำคัญกับ อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน และอาเซียน ซึ่งถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดเช่นกัน โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายมองตะวันออก (Look East) อย่างต่อเนื่อง
3 ส่งเสริมความสัมพันธ์กับจีน โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดน
4 กระชับความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้วกับรัสเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการทหารและเทคโนโลยีด้านอวกาศและนิวเคลียร์
5 ขยายความร่วมมือกับสหรัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
6 เพิ่มความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง (West Asia) โดยคำนึงถึงรากฐานความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับอิสราเอลโดยเฉพาะด้านการทหาร

สถานการณ์ที่สำคัญ
การเมืองภายใน
- พรรค Indian National Congress เป็นฝ่ายได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 14) เมื่อ 20 เมษายน – 10 พฤษภาคม 2547 อย่างพลิกความคาดหมาย และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม เรียกว่า The United Progressive Alliance (UPA) Dr. Manmohan Singh
- ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) คือนาย Somnath Chatterjee
ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (Communist Party of India (Marxist) ) คนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
-นาย L.K.Advani อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้าน นาย Vajpayee เป็นประธาน
พรรคฝ่ายค้านและพันธมิตร ซึ่งเรียกว่า National Democratic Alliance

สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
-อินเดียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ ประชากรกว่าร้อยละ 60 ยังประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม ปัญหาความยากจนและการว่างงานเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากปิดประเทศและดำเนินนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมภายในมานาน อย่างไรก็ดี อินเดียเริ่มเปิดเสรีทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2534
เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งส่งผลให้มีการลงทุนจากต่างชาติในกิจการด้านไฟฟ้า พลังงาน และอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเสรีด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารในปี 2543 ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอินเดียดีขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน อินเดียอยู่ในสถานะตลาดใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากนานาชาติ
-ในปี 2546 เศรษฐกิจอินเดียเติบโตเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและจีน โดยมี GDP 505.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจอินเดียไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 เติบโตถึงร้อยละ 10 เนื่องจากเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตรได้เต็มที่ การส่งออกเติบโตถึงร้อยละ 10 รายได้จากการลงทุนโดยตรงของต่างชาติมีจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยต่ำลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 4.91 ตลาดเงินทุนแข็งแกร่ง เงินทุนสำรองต่างประเทศสูงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
3.3 ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
-อินเดียมีความเจริญก้าวหน้าในด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา สร้างรายได้จาก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2534 เป็น 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545 ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการถึง 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นถึง 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2547 ทั้งนี้ เพราะอินเดียมีประชากร
ร้อยละ 6 ที่มีความเป็นอยู่และการศึกษาดีในระดับนานาชาติ และมีสถาบันการศึกษาคุณภาพสูงที่เน้นการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ อินเดียยังเห็นว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมสะอาดปราศจากมลพิษ เป็นการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีการลงทุนต่ำและมีมูลค่าเพิ่มในการส่งออกสูงมาก ประกอบกับการสนับสนุนอย่างจริงจังของภาครัฐ ทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น มีการจัดตั้งองค์กรเฉพาะของภาครัฐ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาการส่งออกซอฟต์แวร์ คือ Software Technology Parks of India (STPI)

กระบวนการปรับความสัมพันธ์กับปากีสถาน
-รัฐบาลชุดใหม่ของอินเดียประกาศยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลอินเดียที่จะสานต่อการเจรจากับปากีสถานตามที่รัฐบาลชุดก่อนหน้าได้ตกลงไว้ โดยได้มีการเจรจาระดับผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยเรื่องอาวุธนิวเคลียร์เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2547 ผลการเจรจา คือ สองฝ่ายตกลงที่จะจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วนระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และลดความเสี่ยงจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ และเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2547 มีการเจรจาระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่กรุงนิวเดลี โดยเน้นเรื่องสันติภาพและความมั่นคง และการดำเนินการตามมาตรการสร้างความไว้วางใจ โดยสองฝ่ายตกลงที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่ของแต่ละฝ่ายที่เมืองมุมไบและการาจี และจะเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าในสำนักงานข้าหลวงใหญ่ของแต่ละฝ่ายให้เต็มอัตรา คือ 110 คน นอกจากนี้ จะมีการเจรจา Composite Dialogue ในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อไป



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard